ราเมนนับว่าเป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติที่เป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น และยังได้รับความนิยมอย่างมากในทั่วโลกด้วย คุณรู้ไหมว่าทำไมราเมนบางชนิดถึงถูกเรียกว่า SOBA จีน? "อาบูราโซบะ" และ "บะหมี่โซบะ" ต่างกันอย่างไร? บทความนี้จะพูดถึงความแตกต่างและที่มาของราเมน บะหมี่โซบะจีน และบะหมี่โซบะญี่ปุ่น
ราเมนญี่ปุ่นมาจากที่ไหน?
ต้นกำเนิดและที่มาของคำว่า "ราเมน" ของประเทศญี่ปุ่นนั้น มีหลายทฤษฎีด้วยกัน แต่ทฤษฎีที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ ราเมนเป็นอาหารประเภทเส้นชนิดหนึ่ง ที่กำเนิดจากเมืองหลานโจว ประเทศจีน การต้มเส้นในน้ำเดือดแล้วก็นำไปใส่ในน้ำซุป จากนั้นเพิ่มเครื่องปรุงต่าง ๆ ตัวเส้นอร่อยและเหนียวนุ่ม ในขณะเดียวกัน อาหารประเภทเส้นที่มีอยู่ในประเทศญี่ปุ่นถูกเรียกว่า "
บันทึกเกี่ยวกับเส้นบะหมี่จีนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นนั้น เกี่ยวข้องกับโทคุงาวะ มิตสึคุนิ เจ้าเมืองแห่งมิโตะในสมัยเอโดะ ที่บังเอิญได้ลิ้มลองบะหมี่น้ำที่ทำโดยนักปราชญ์ขงจื๊อจากราชวงศ์หมิง เรื่องนี้ทำให้โทคุงาวะ มิตสึคุนิกลายเป็นบุคคลสำคัญสัญชาติญี่ปุ่นคนแรกที่ได้กินราเมน และนี่เป็นที่มาของการที่ "สมาคมราเมนญี่ปุ่น" กำหนดให้วันที่ 11 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของโทคุงาวะ มิตสึคุนิ เป็น "วันราเมนแห่งชาติ" ในปี 2017
"そば โซบะ" ไม่จำเป็นต้องเป็นบะหมี่โซบะเสมอไป อาจจะเป็นบะหมี่ผัด หรือบะหมี่คลุกก็ได้!
① "中華そば" จริงๆ แล้วคือราเมนนั่นแหละ
ตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ในร้านราเมนทั่วประเทศญี่ปุ่น คุณจะเห็นสัญลักษณ์ "
เรามาย้อนเวลากลับไปยังปี 1884 ที่ ฮอกไกโดกัน โดยเมืองฮาโกดาเตะ มีร้านอาหารชื่อ "โยวะเคน" อยู่หนึ่งร้าน วันหนึ่งร้านนี้ได้ลงโฆษณา "นานกิงโซบะ" บนหนังสือพิมพ์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา บะหมี่น้ำแบบนี้ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางเลยล่ะ พอถึงสมัยเมจิ จึงได้ใช้ "Shina soba" คำเดียวแทน "บะหมี่นานกิง" ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลญี่ปุ่นรู้สึกอึดอัดกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ "จีน" จึงเปลี่ยนไปใช้คำอื่นเป็น "Chūka soba" สรุปคือ บะหมี่น้ำที่ทำจาก "บะหมี่จีน" ทั้งหมดถูกเรียกว่า "จูกวาโซบะ" แต่ว่ามันไม่เกี่ยวอะไรกับ "โซบะ" ที่ทำจากแป้งบักวีตเลย เส้นทั้งสองแบบเป็นชนิดที่ต่างกัน!
ต่อมาบะหมี่แบบนี้จึงถูกเรียกคนญี่ปุ่นเรียกรวม ๆ ว่า "ราเมน" ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัทนิสชินฟู้ดส์ เมื่อปี 1958 บริษัทนิชชิน (Nissin) ได้เปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชามแรกของโลก (ชิกเกนราเมน) ทำให้คำว่า "ราเมน" เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จากนั้นจึงค่อย ๆ แทนที่คำเรียกแบบเดิมอย่าง "จูกะโซบะ" และนำไปสู่การพัฒนา "ราเมนท้องถิ่น" ที่น่าตื่นตาตื่นใจในแต่ละพื้นที่ เช่น ราเมนหมูกระดูกของคิวชูฟุกุโอกะ ราเมนมิโสะของฮอกไกโด ราเมนโชยุของโตเกียว และอื่น ๆ อีกมากมาย
② "焼きそば ยากิโซบะ" คือบะหมี่ผัด
เช่นเดียวกัน อาหารพื้นบ้านของญี่ปุ่น อย่าง "
"หลังสงครามอาหารขาดแคลน จึงนำกะหล่ำปลีราคาถูกเพิ่มใส่บะหมี่ เพื่อให้อิ่มท้องมากขึ้น แต่ปัญหาคือกะหล่ำปลีชอบปล่อยน้ำออกมา เลยทำให้รสชาติจืดชืด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องราดซอสเข้มข้นลงไป หลังจากสร้างขึ้นก็กลายเป็นอาหารยอดฮิตเลย!
③ "油そば อะบุระโซบะ" คือบะหมี่คลุกน้ำมันสไตล์ญี่ปุ่น
"
④ "台灣混ぜそば" คือบะหมี่คลุก
"
แล้วโซบะ (そば) ญี่ปุ่นแท้ ๆ ควรเป็นอย่างไรกันล่ะ?
"
สุดท้ายมาทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับราเมนญี่ปุ่นกันอีกครั้งกันเถอะ!
ชื่อเรียก | คำจำกัดความโดยคร่าว |
ราเมน(ラーメン) | ราเมนญี่ปุ่นที่มีน้ำซุปหลากหลายรสชาติ เช่น ซุปกระดูกหมู, ซุปมิโสะ, ซุปโชยุ, ซุปเกลือ |
Chūka soba (中華そば) | ต้นกำเนิดของราเมนญี่ปุ่น ซึ่งตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปก็ถูกเรียกว่า นันกิงโซบะ หรือ ชินาโซบะ |
Yakisoba (焼きそば) | บะหมี่ผัดญี่ปุ่นซอสเข้มข้น |
Abura soba (油そば) | บะหมี่ญี่ปุ่นแห้งไม่มีน้ำซุป และเครื่องเคียงเล็กน้อย |
taiwan mazesoba (台灣まぜそば) | บะหมี่ญี่ปุ่นแห้งไม่มีน้ำซุป แต่ใส่ไข่ดิบ |
Kake soba (かけそば) | โซบะน้ำซุป |
ราเมนที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมการกินของประเทศญี่ปุ่น จนกลายเป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติที่เป็นตัวแทนของญี่ปุ่นมากที่สุด และยังได้รับความนิยมไปทั่วโลกอีกด้วย หลังจากอ่านบทความนี้จบ คุณเริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Chūka soba, ราเมน และบะหมี่โซบะบ้างหรือยังละ? "JapaiJAPAN" ยังคงค้นหาวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นที่น่าสนใจและมีประโยชน์มาให้ทุกคนอย่างต่อเนื่อง มาเป็นนักชิมผู้เปี่ยมความรู้กันเถอะ!