รถไฟชินคันเซ็นเป็นพาหนะที่นักท่องเที่ยวใช้เดินทางอยู่บ่อยๆ เมื่อเดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่น แต่รู้หรือไม่ชินคันเซ็นของญี่ปุ่นล้วนมีชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น"ฮายาบุสะ" "โนโซมิ" "โทคิ" แต่ละชื่อนั้นมีที่มาที่ไปและแตกต่างกันอย่างไรนะ? ว่าแล้วก็มาทำความรู้จักเรื่องราวของรถไฟชินคันเซ็น เพื่อที่เวลาซื้อตั๋วจะได้ไม่สับสนกัน!

"ชินคันเซ็น" ที่แปลว่าเส้นทางใหม่สายหลัก
ชินคันเซ็นถือกำเนิดจากแนวคิดการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายหลัก โทไคโดฮอนเซ็น (โตเกียว-โกเบ) ที่มีมาตั้งแต่ร้อยปีก่อน เมื่อเส้นทางเดิมเริ่มแออัด ญี่ปุ่นจึงสร้างเส้นทางใหม่พร้อมพัฒนาให้เป็น รถไฟความเร็วสูงเกิน 200 กม./ชม. จนกลายเป็นรถไฟความเร็วสูงเชิงพาณิชย์รายแรกของโลก
ชื่อเรียกของชินคันเซ็นที่ต่างกัน ?
ระบบการตั้งชื่อรถไฟชินคันเซ็นถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้โดยสารเข้าใจง่าย โดยชื่อจะบ่งบอกเส้นทางและความเร็วของขบวนรถ เช่น เส้นทางโตเกียว-โอซาก้า มีให้เลือก 3 ขบวน ได้แก่ "โนโซมิ" ที่ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง "ฮิคาริ" ใช้เวลา 3 ชั่วโมง และ "โคดามะ" ที่จอดทุกสถานีใช้เวลา 4 ชั่วโมง
9 ประเภทของรถไฟชินคันเซ็น แบ่งตามชื่อเรียกต่างๆ
ชื่อรถไฟชินคันเซ็นในญี่ปุ่นมาจากการโหวต แบ่งเป็น 9 หมวดหลัก ได้แก่ แสง เสียง นก ภูเขา พืช ลม ชื่อสถานที่ อาหาร และอื่นๆ โดยเขียนด้วยฮิระงะนะเพื่อให้อ่านง่าย เคยมีกรณีสับสนระหว่างชื่อ ASAHI กับ ASAMA จนต้องเปลี่ยน ASAHI เป็น TOKI เพื่อป้องกันการขึ้นรถผิดขบวน
ประเภท | ชื่อ |
---|---|
แสง | ชินคันเซ็นสายโทไคโด ขบวน "ฮิคาริ" (HIKARI) ที่แปลว่า แสงสว่าง ชินคันเซ็นสายโฮคุริคุ ขบวน "คางายากิ" (KAGAYAKI) ที่แปลว่า เจิดจ้า |
เสียง | ชินคันเซ็นสายโทไคโด ขบวน "โคดามะ" (KODAMA) ที่แปลว่า เสียงสะท้อน ชินคันเซ็นสายโฮคุริคุ ขบวน "ยามะบิโกะ" (YAMABIKO) ที่แปลว่า เสียงสะท้านในภูเขา |
นก | ชินคันเซ็นสายโทโฮคุและฮอกไกโด ขบวน "ฮายาบุสะ" (HAYABUSA) ที่แปลว่า เหยี่ยวเพเรกริน ชินคันเซ็นสายยามากาตะ ขบวน "สึบาสะ" (TSUBASA) ที่แปลว่า ปีก ชินคันเซ็นสายโจเอ็ตสึ ขบวน "โทคิ" (TOKI) ที่แปลว่า นกกระสาญี่ปุ่น ชินคันเซ็นสายโฮคุริคุ ขบวน "ฮาคุทาคะ" (HAKUTAKA) ที่แปลว่า เหยี่ยวขาว ชินคันเซ็นสายคิวชู ขบวน "สึบาเมะ" (TSUBAME) ที่แปลว่า นกนางแอ่น ชินคันเซ็นสายนิชิคิวชู ขบวน "คาโมเมะ" (KAMOME) ที่แปลว่า นกนางนวล |
ภูเขา | ชินคันเซ็นสายโจเอ็ตสึ ขบวน "ทานิงาวะ" (TANIGAWA) มาจาก ภูเขาทานิงาวะ ชินคันเซ็นสายโฮคุริคุ ขบวน "อาซามะ" (ASAMA) มาจาก ภูเขาอาซามะ ชินคันเซ็นสายโฮคุริคุ ขบวน "สึรุงิ" (TSURUGI) ที่แปลว่า ดาบ/ยอดเขาสึรุงิ |
พืช | ชินคันเซ็นสายคิวชูและซันโย ขบวน "ซากุระ" (SAKURA) มาจาก ดอกซากุระ ชินคันเซ็นสายคิวชู ขบวน "มิซูโฮะ" (MIZUHO) ที่แปลว่า ข้าวที่อุดมสมบูรณ์ |
ลม | ชินคันเซ็นสายโทโฮคุและฮอกไกโด ขบวน "ฮายาเตะ" (HAYATE) ที่แปลว่า ลมแรง |
ชื่อสถานที่ | ชินคันเซ็นสายโทโฮคุ ขบวน "นาสุโนะ" (NASUNO) มาจาก ทุ่งนาสุ |
ชื่ออาหาร | ชินคันเซ็นสายอาคิตะ ขบวน "โคมาจิ" (KOMACHI) มาจาก ข้าวโคมาจิ |
อื่นๆ | ชินคันเซ็นสายโทไคโด ขบวน "โนโซมิ" (NOZOMI) ที่แปลว่า ความหวัง |
หมวดแสง:สื่อถึงความเร็วของรถไฟ

รถไฟชินคันเซ็นสายโทไคโด "โคดามะ" (KODAMA) "โนโซมิ" (NOZOMI) "ฮิคาริ" (HIKARI)
ภาพจาก JRおでかけネット

รถไฟสายโฮคุริคุ "คางายากิ" (KAGAYAKI) "ฮาคุทาคะ" (HAKUTAKA) "สึรุงิ" (TSURUGI) และ "อาซามะ" (ASAMA)
ภาพจาก JRおでかけネット
โทไคโดชินคันเซ็น "ฮิคาริ" (HIKARI)
ขบวนนี้วิ่งระหว่างโตเกียว โอซาก้า และฮากาตะ สื่อถึงความเร็วของแสงซึ่งเร็วกว่าความเร็วเสียง แม้ว่าปัจจุบันความเร็วของขบวนฮิคาริจะถูกแทนที่ด้วยขบวนโนโซมิแล้ว แต่ในปี 1964 เมื่อโทไคโดชินคันเซ็นเปิดให้บริการ ขบวนนี้เคยเป็นรถไฟที่เร็วที่สุดในอดีต
โฮคุริคุ ชินคันเซ็น "คางายากิ" (KAGAYAKI)
วิ่งระหว่างโตเกียวและคานาซาวะ แสงที่เปล่งประกายสื่อถึงความรู้สึกของความเร็ว และการก้าวไปสู่อนาคตที่สดใสและเติบโต
หมวดเสียง:ความเร็วเกือบเท่าเสียงสำหรับการเดินทางไป-กลับในเมืองธุรกิจ

โทโฮคุชินคันเซ็น "ยามาบิโกะ" (YAMABIKO) โจเอ็ตสึชินคันเซ็น "ทานิงาวะ" (TANIGAWA) โจเอ็ตสึชินคันเซ็น "โทคิ" (TOKI)
ภาพจาก JR EAST

โทโฮคุ-ฮอกไกโดชินคันเซ็น "ฮายาบุสะ" (HAYABUSA) "ฮายาเตะ" (HAYATE) และ "นาสึโนะ" (NASUNO)
ภาพจาก JR EAST
โทไคโดชินคันเซ็น "โคดามะ" (KODAMA)
วิ่งระหว่างโตเกียว-ชินโอซาก้า และระหว่างชินโอซาก้า-ฮากาตะ เป็นขบวนรถไฟที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่มนักธุรกิจที่ต้องการเดินทางไป-กลับระหว่างโตเกียวและโอซาก้าในวันเดียว เนื่องจากช้ากว่าความเร็วแสง จึงตั้งชื่อตามความเร็วเสียง โคดามะ (KODAMA) มีความหมายว่า "วิญญาณแห่งป่า" ซึ่งหมายถึงเทพแห่งต้นไม้นั้นเอง
โทโฮคุชินคันเซ็น "ยามาบิโกะ" (YAMABIKO)
วิ่งระหว่างโตเกียว เซนได และโมริโอกะ สามารถเดินทางไป-กลับมิยางิ ฟุกุชิมะ และอิวาเตะได้ในวันเดียว จึงเรียกได้ว่าเป็นโคดามะฉบับโทโฮคุ ยามาบิโกะเป็นสัญลักษณ์ของเทพภูเขาที่อยู่ในเทือกเขาแถบโทโฮคุ
หมวดนก:มาจากตำนานพื้นบ้านและประวัติศาสตร์รถไฟ
โทโฮคุ-ฮอกไกโดชินคันเซ็น "ฮายาบุสะ" (HAYABUSA)
วิ่งระหว่างโตเกียว ชินอาโอโมริ และฮอกไกโดชินฮาโกดาเตะโฮกุโตะ ฮายาบุสะ คือนกเหยี่ยวชนิดหนึ่ง บินดิ่งลงมาด้วยความเร็วสูงมาก เข้ากันได้ดีกับรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขบวนนี้ ไม่เพียงแค่ชื่อเท่านั้น ตัวรถสีเขียว-ขาวเงางามตัดด้วยสีชมพู ทั้งภายในและภายนอกล้วนเต็มไปด้วยความเท่ห์เหมือนนกเหยี่ยว
ยามากาตะชินคันเซ็น "สึบาสะ" (TSUBASA)

ยามากาตะชินคันเซ็น "สึบาสะ" (TSUBASA)
ภาพจาก JR EAST
ที่มาของชื่อ "สึบาสะ" (ปีก) มี 2 ความหมาย คือเพื่อความเจริญของเส้นทางโอวุ และสืบทอดความหมายจากรถไฟ "ชิโรโทริ" (นกขาว) ที่เคยวิ่งเส้นทางนี้มาก่อน จึงมีความหมายว่า "ปีกของนกขาว"
โจเอ็ตสึชินคันเซ็น "โทคิ" (TOKI)
วิ่งระหว่างโตเกียว ไซตามะ กุนมะ และนีงาตะ ชื่อ "โทคิ" หมายถึง นกกระเรียนญี่ปุ่น สัตว์อนุสรณ์ธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในนีงาตะ จึงมีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นตัวแทนของท้องถิ่น
โฮคุริคุชินคันเซ็น "ฮาคุทาคะ" (HAKUTAKA)
วิ่งระหว่างโตเกียวและคานาซาวะ จอดทุกสถานีจากอุเอโนะถึงคานาซาวะ ชื่อรถไฟมาจาก เหยี่ยวขาว ที่ปรากฏในตำนานการเปิดภูเขาทาเทยามะ สื่อถึงความรวดเร็ว และ ความเชื่อมโยงระหว่างเขตเมืองหลวงกับภูมิภาคโฮคุริคุ
คิวชูชินคันเซ็น "สึบาเมะ" (TSUBAME)

คิวชูชินคันเซ็น "สึบาเมะ" (TSUBAME)
ภาพจาก wikipedia
วิ่งระหว่างฮากาตะและคาโกชิมะชูโอ จอดทุกสถานี ชื่อนี้สืบทอดมาจากชื่อรถด่วนพิเศษที่มีชื่อเสียงของการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1930 ก่อนและหลังสงครามโลก
นิชิคิวชูชินคันเซ็น "คาโมเมะ" (KAMOME)

นิชิคิวชูชินคันเซ็น "คาโมเมะ" (KAMOME)
ภาพจาก 九州旅客鉄道株式会社
วิ่งระหว่างฮากาตะและนางาซากิ ชื่อนี้สืบทอดมาจากรถไฟด่วนพิเศษที่วิ่งระหว่างฮากาตะและนางาซากิตั้งแต่ปี 1961
หมวดภูเขา:ภูเขาที่เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ที่รถไฟวิ่งผ่าน
โจเอ็ตสึชินคันเซ็น "ทานิงาวะ" (TANIGAWA)
วิ่งระหว่างโตเกียว ทาคาซากิ และเอชิโงะยุซาวะ ทานิงาวะหมายถึง หุบเขาและลำธาร เป็นตัวแทนของภูเขาทานิงาวะดาเกะ ที่ทอดยาวระหว่างจังหวัดกุมมะและนีงาตะ ซึ่งอยู่เหนืออุโมงค์โอชิมิซุของชินคันเซ็นโจเอ็ตสึ
โฮคุริคุชินคันเซ็น "อาซามะ" (ASAMA)
วิ่งระหว่างโตเกียวและจังหวัดนากาโน่ ชื่อนี้มาจากภูเขาอาซามะ ที่สามารถมองเห็นได้จากหน้าต่างรถไฟใกล้สถานีนากาโน่ ซึ่งเป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดของญี่ปุ่น
โฮคุริคุชินคันเซ็น "สึรุงิ" (TSURUGI)
รถไฟนอนวิ่งระหว่างโทยามะและคานาซาวะ ชื่อนี้มาจากภูเขาสึรุงิดาเกะ ในเทือกเขาทาเทยามะในจังหวัดโทยามะ
หมวดพืช:แสดงถึงความงามและความแข็งแกร่งของญี่ปุ่น
คิวชู-ซันโยชินคันเซ็น "ซากุระ" (SAKURA)

คิวชู-ซันโยชินคันเซ็น "ซากุระ" (SAKURA) และ "มิซูโฮะ" (MIZUHO)
ภาพจาก JRおでかけネット
วิ่งระหว่างโอซาก้าและคาโกชิมาชูโอ รถไฟขบวนนี้ใช้รถรุ่นใหม่ N700 ซีรีส์ 7000/8000 ที่พัฒนาขึ้นในเวลานั้น นำเสนอความงามของญี่ปุ่น โดยใช้ดอกซากุระเป็นตัวแทน
คิวชูชินคันเซ็น "มิซูโฮะ" (MIZUHO)
วิ่งระหว่างชินโอซาก้าและคาโกชิมาชูโอ มิซูโฮะ เป็นสัญลักษณ์ของรวงข้าวที่อุดมสมบูรณ์ คำว่า "ประเทศมิซูโฮะ" หรือ "ประเทศรวงข้าวมิซูโฮะแห่งทุ่งอาชิฮาระ 1,500 ฤดูใบไม้ร่วง" ล้วนเป็นคำกล่าวถึงประเทศญี่ปุ่นในสมัยโบราญ
หมวดลม:สัญลักษณ์ของความเร็วและการก้าวสู่อนาคต
โทโฮคุ-ฮอกไกโดชินคันเซ็น "ฮายาเตะ" (HAYATE)
วิ่งระหว่างอิวาเตะ อาโอโมริ และฮอกไกโด ฮายาเตะ หมายถึง ลมที่พัดอย่างรวดเร็วและรุนแรง เหตุผลที่ชื่อนี้ถูกเลือกจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพราะให้ความรู้สึกถึงความใหม่และความรวดเร็ว ฮายาเตะและฮายาบุสะ (HAYABUSA) เปรียบเสมือนพี่น้องกัน ไม่เพียงแต่ชื่อที่คล้ายกัน เส้นทางการเดินรถก็คล้ายกันด้วย แต่ฮายาบุสะ เป็นรถไฟที่มีที่นั่งจองล่วงหน้าและมีความเร็วสูงกว่าฮายาเตะ
หมวดสถานที่:ตั้งชื่อตามปลายทางเพื่อความเข้าใจง่าย
โทโฮคุชินคันเซ็น "นาสึโนะ" (NASUNO)
วิ่งระหว่างโตเกียว อุซึโนมิยะ และนาสึชิโอบาระ เป็นรถไฟที่ให้บริการผู้โดยสาร ที่เดินทางไปทำงานและเรียนหนังสือเป็นหลัก ชื่อมาจากจุดหมายปลายทางของรถไฟคือที่ราบนาสึโนะ
หมวดอาหาร:ตั้งชื่อบุคคลและผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวแทนของท้องถิ่น

อากิตะชินคันเซ็น "โคมาจิ" (KOMACHI)
วิ่งระหว่างโตเกียวและอากิตะ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจังหวัดอากิตะเป็นแหล่งกำเนิดของสาวสวย ชื่อรถไฟโคมาจินี้ มาจากกวีหญิงชื่อดังของจังหวัดอากิตะ คือ โอโนะ โนะ โคมาจิ ความงามของเธอถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสามสาวงามของโลก ร่วมกับหยางกุ้ยเฟย และคลีโอพัตรา ข้าวแบรนด์ "โคมาจิ" ของอากิตะก็มีชื่อเสียงมากเช่นกัน ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าชื่อรถไฟโคมาจิมาจากชื่อข้าว
หมวดอื่นๆ:ตั้งตาม ยามาโตะ โคโตบะ หรือคำคล้ายในญี่ปุ่น
โทไคโดชินคันเซ็น "โนโซมิ" (NOZOMI)
ที่มาของชื่อ "NOZOMI" รถไฟชินคันเซ็นความเร็วสูงระหว่างโตเกียว-ฟุกุโอกะ เดิมทีจะใช้ชื่อ "KIBOU" (ความหวัง) แต่เพื่อรักษาธรรมเนียมการตั้งชื่อรถไฟด้วยภาษายามาโตะดั้งเดิม จึงเปลี่ยนเป็น "NOZOMI" ซึ่งมีความหมายเดียวกัน
รถไฟชินคันเซ็นไม่เพียงโดดเด่นด้วยความเร็วและความปลอดภัย แต่ชื่อของแต่ละขบวนยังสะท้อนวัฒนธรรมและเรื่องราวของญี่ปุ่นได้อย่างน่าสนใจ เมื่อคุณขึ้นรถไฟชินคันเซ็นครั้งต่อไป อย่าลืมสังเกตชื่อขบวนที่นั่งกันด้วยนะ