เชื่อว่าคนที่มาโตเกียวต้องมีคำถามในใจไม่มากก็น้อย "ซื้อซิมการ์ดหรือตั๋วรถไฟใต้ดินที่ไหน?" "ควรเปลี่ยน JR Pass ที่ไหนดี?" "ซื้อตั๋วไปโตเกียวได้ที่ไหน?" "แลกเงินเยนหรือถอนเงินได้ที่ไหน?" คำถามทั้งหมดนี้สนามบินนาริตะ มีคำตอบ! "JapaiJAPAN" ขอนำเสนอคู่มือฉบับสมบูรณ์เมื่อเข้าประเทศทางสนามบินนาริตะ! อีกทั้งยังมีสรุปแผนผังในสนามบินนาริตะฉบับสมบูรณ์! พร้อมไปรษณีย์และจุดชอปส่งท้ายอย่างละเอียด!
รายละเอียดอาคารผู้โดยสารขาเข้าสนามบินนาริตะ
・อาคารผู้โดยสารหนึ่ง
・อาคารผู้โดยสารสอง
・อาคารผู้โดยสารสาม
・วิธีการเดินทางระหว่างอาคารผู้โดยสาร
อาคารผู้โดยสารหนึ่ง
แผนผังของอาคารผู้โดยสารหนึ่งมีลักษณะเป็น "ตัว V คว่ำ" ล็อบบี้ผู้โดยสารขาเข้าชั้นที่ 1 แบ่งออกเป็น"ปีกทิศใต้" และ "ปีกทิศเหนือ" หากต้องการเดินทางระหว่างอาคารปีกทั้งสองทิศต้องผ่านอาคารกลางที่คั่นไว้ อาคารปีกทั้งสองทิศต่างมีทางออกสามทาง และมีทางออกหลักอีกหนึ่งตรงบริเวณอาคารกลาง เมื่อออกจากประตูทางออกจะพบจุดให้บริการรถบัสทันที และหากต้องการนั่งรถไฟฟ้าต้องลงไปชั้นใต้ดินที่ 1
ตั๋วรถบัส
หากออกจากอาคารปีกทิศเหนือหรือทิศใต้ และต้องการนั่งรถบัสเพื่อไปยังใจกลางเมืองโตเกียว สามารถซื้อตั๋วจากจุดจำหน่ายตั๋ว Keisei Bus และ Limousine Bus โดยตรง จากนั้นสามารถไปยังจุดขึ้นรถบัส ณ บริเวณทางออกเพื่อขึ้นรถทันที
※ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2022 เป็นต้นไป จุดจำหน่ายตั๋วทางอาคารปีกทิศเหนือจะปิดให้บริการชั่วคราว ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อตั๋วสามารถไปยังจุดจำหน่ายตั๋วของอาคารปีกทิศใต้
ซิมการ์ด
บริเวณทางออกหลักชั้น 1 ที่อยู่ใกล้กับบันไดเลื่อนของอาคารกลางมี ตู้จําหน่ายซิมการ์ดอัตโนมัติ ซึ่งรองรับโทรศัพท์มือถือระบบ iOS และ Android อีกทั้งยังสามารถซื้อได้ที่ศูนย์บริการการท่องเที่ยว JR EAST ที่ตั้งอยู่ชั้นใต้ดินที่หนึ่งหรือบริเวณจุดนัดพบของอาคารปีกทิศใต้ได้
เคาน์เตอร์แลกบัตร JR PASS
หากได้ซื้อ JR PASS ล่วงหน้าจากนอกประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องไปยังศูนย์บริการการท่องเที่ยว JR EAST ที่ชั้นใต้ดินที่หนึ่ง เพื่อแลกรับบัตรตัวจริง จึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งจำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์มการแลกรับพร้อมแสดงหนังสือเดินทางผู้ซื้อประกอบ
จุดนัดพบ Meeting Point
บริเวณทางออก S1 อาคารปีกทิศใต้และ N3 อาคารปีกทิศเหนือ ต่างมีจุดนัดพบขนาดเล็กตามรูปข้างใต้ โดยมีบริการอย่าง ตู้จำหน่ายซิมการ์ด, ตู้โทรศัพท์สาธารณะ, ปลั๊กไฟและเก้าอี้นวดหยอดเหรียญไว้ให้บริการ
จุดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและตู้เอทีเอ็ม
หากต้องการแลกเงินเยนหลังจากเข้าประเทศญี่ปุ่น สามารถไปที่จุดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ บริเวณทางออกของอาคารปีกทิศเหนือและใต้ได้ อาคารปีกทิศใต้มี "The Keiyo Bank" และ "Mizuho Bank" อาคารปีกทิศเหนือมี "MUFG Bank" และ "Resona Bank" อาคารกลางมีตู้เอทีเอ็มของธนาคารอย่าง "Seven Bank" และ "Japan Post Bank" ซึ่งข้างตู้เอทีเอ็มมีตู้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอัตโนมัติ
ตั๋วรถไฟใต้ดินโตเกียวเมโทร
ตั๋ว 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมงของรถไฟใต้ดินโตเกียวเมโทร สามารถซื้อได้ที่เคาน์เตอร์จําหน่ายตั๋วรถบัส Keisei ที่ตั้งอยู่ชั้น 1 หรือศูนย์บริการนักท่องเที่ยว Keisei และ Keisei Ticket Center ที่ตั้งอยู่ชั้นใต้ดินที่ 1 ซึ่งต้องแสดงหนังสือเดินทางประกอบการซื้อ โดยศูนย์บริการนักท่องเที่ยว Keisei สามารถขอข้อมูลการเดินทางของผู้ซื้อ และให้บริการซื้อตั๋ว Skyliner
ร้านสะดวกซื้อ
หากต้องการซื้ออะไรสักอย่างเพื่อรองท้องก่อนการเดินทางไปยังใจกลางเมือง อาคารปีกทิศใต้มีร้านสะดวกซื้อ MINI STOP และมี Family Mart, Lawson อยู่ที่ชั้นใต้ดินที่1
อาคารผู้โดยสารสอง
อาคารผู้โดยสารสองแบ่งออกเป็น 2 ล็อบบี้ คือล็อบบี้ A และ B โดยล็อบบี้ A มีทางออกทิศใต้ 1, ทางออกทิศใต้ 2 และทางออกทิศใต้ 3 และจุดขึ้นรถบัสตัวเลขมากอยู่ใกล้กับทางออกทิศใต้มากกว่า ส่วนล็อบบี้ B มีทางออกทิศเหนือ 1, ทางออกทิศเหนือ 2 และทางออกทิศเหนือ 3 และจุดขึ้นรถบัสตัวเลขน้อยอยู่ใกล้กับทางออกทิศเหนือมากกว่า ทางเดินเพื่อไปยังอาคารผู้โดยสารสาม และ "จุดนัดพบทางทิศเหนือ" ที่เป็นจุดพักผ่อนของผู้โดยสาร นั้นอยู่ที่โซนล็อบบี้ B สุดท้ายสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการรถไฟฟ้าต้องเดินทางไปยังชั้นใต้ดินที่ 1
ตั๋วรถบัส
หากเดินออกจากล็อบบี้ผู้โดยสารขาเข้า A และ B จะสามารถมองเห็นจุดจำหน่ายตั๋วของ Keisei Bus และ Limousine Bus ทันที ซึ่งสามารถซื้อตั๋วจากที่นี่โดยตรง พร้อมเดินไปขึ้นรถตามจุดที่กำหนดไว้ได้
ซิมการ์ด
บริเวณข้างบันไดเลื่อนและทางขวามือของทางเข้าล็อบบี้ B มีตู้จําหน่ายซิมการ์ดอัตโนมัติให้บริการ ซึ่งรองรับโทรศัพท์มือถือระบบ iOS และ Android หรือสามารถไปซื้อได้ที่ศูนย์บริการการท่องเที่ยว JR EAST ที่ตั้งอยู่ชั้นใต้ดินที่หนึ่งได้
เคาน์เตอร์แลกบัตร JR PASS
หากทำการซื้อ JR PASS ล่วงหน้าจากนอกประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องไปยังศูนย์บริการการท่องเที่ยว JR EAST ที่ชั้นใต้ดินที่หนึ่ง เพื่อแลกรับบัตรตัวจริง จึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งจำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์มการแลกรับพร้อมแสดงหนังสือเดินทางผู้ซื้อประกอบด้วย
ร้านสะดวกซื้อ
แม้ว่า ณ ชั้น 1 ของล็อบบี้ผู้โดยสารขาเข้าจะมีร้านค้าอยู่บ้าง แต่ตัวเลือกสินค้านั้นค่อนข้างน้อย ดังนั้นสามารถลงไปยังชั้นใต้ดินที่ 1 ที่มี 7-Eleven และเครื่องเล่นกาชาปองอยู่ได้
จุดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและตู้เอทีเอ็ม
ล็อบบี้ A และ B ต่างมีจุดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ตั้งอยู่ภายในล็อบบี้ โดยล็อบบี้ A มี MUFG Bank และ The Chiba Bank ล็อบบี้ B มี Sumitomo Mitsui Banking Corporation และ The Chiba Kogyo Bank บริเวณข้างบันไดเลื่อนตรงกลางมีตู้เอทีเอ็มและตู้แลกเปลี่ยนเงินตราอัตโนมัติของธนาคาร Chiba และอื่นๆ ส่วน Seven Bank ตั้งอยู่ที่ชั้นใต้ดินที่หนึ่ง
ตั๋วรถไฟใต้ดินโตเกียวเมโทร
ตั๋ว 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมงของรถไฟใต้ดินโตเกียวเมโทร สามารถซื้อได้ที่เคาน์เตอร์จําหน่ายตั๋วรถบัส Keisei ที่ชั้น 1 หรือศูนย์บริการนักท่องเที่ยว Keisei ที่ตั้งอยู่ชั้นใต้ดินที่ 1 ซึ่งต้องแสดงหนังสือเดินทางประกอบการซื้อ โดยศูนย์บริการนักท่องเที่ยว Keisei สามารถขอข้อมูลการเดินทางของผู้ซื้อ และซื้อตั๋ว Skyliner ได้
จุดนั่งรอทิศเหนือ
ที่ ล็อบบี้ B มี จุดนั่งรอทิศเหนือ ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เป็นพื้นที่กว้างขวางที่มีทั้งโต๊ะ เก้าอี้, ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ, ห้องน้ำ, โซนหนังสือ, ปลั๊กไฟและ Wi-Fi ให้ใช้บริการ อีกทั้งยังมี โซนเด็กเล็ก สามารถใช้ที่นั่งหรือโซฟาในห้องนอนได้ตราบใดที่ไม่รบกวนผู้อื่น สำหรับผู้โดยสารเที่ยวบินดึกสามารถใช้บริการห้องนี้ได้ และยังสามารถเดินไปยังอาคารผู้โดยสารสามจากทางออกของจุดนัดพบทิศเหนือได้อีกด้วย
อาคารผู้โดยสารสาม
อาคารผู้โดยสารสามที่สาวกสายการบินราคาประหยัดคุ้นเคยที่สุดได้รับการปรับปรุงใหม่ในเดือนเมษายน 2022! อดีตเป็นล็อบบี้ที่ใช้ร่วมกันระหว่างผู้โดยสารขาเข้าและขาออก ปัจจุบันล็อบบี้ผู้โดยสารขาเข้าได้ย้ายไปที่ชั้นหนึ่ง หลังจากที่เดินออกมาจากล็อบบี้ผู้โดยสารขาเข้า มองไปตามทางเดินจะมองเห็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โดยบริเวณรอบๆ มีจุดจำหน่ายตั๋วรถบัสและรถไฟ, จุดยืมกล่อง Wi-Fi และบริการจัดส่งกระเป๋าเดินทาง นอกจากนี้ข้างที่ขึ้นรถบัสยังมีจุดนัดพบ ที่ประกอบไปด้วยตู้เอทีเอ็ม The Chiba Bank และ Seven Bank ข้างซ้ายมีตู้จำหน่ายซิมการ์ดอัตโนมัติ ส่วนร้านค้าและร้านอาหารยังคงตั้งอยู่ชั้นสองที่ล็อบบี้ผู้โดยสารขาออก ดังนั้นถ้ารู้สึกหิวก็ไปหาอะไรทานได้
ถ่ายโดย: AMO
สิ่งที่ควรระวังคือผู้โดยสารที่ต้องการนั่งรถไฟฟ้า, ซื้อตั๋วโตเกียวเมโทรหรือแลกรับบัตร JR PASS จะต้องไปยังอาคารผู้โดยสารสอง แต่ก็ใช้เวลาเพียง 6 นาทีเท่านั้น! หากผู้โดยสารมีสัมภาระไม่มาก ก็อยากแนะนําให้ใช้วิธีการเดินเพื่อประหยัดเวลาในการรอรถบัส
วิธีการเดินทางระหว่างอาคารผู้โดยสาร?
บริการรถบัสรับส่งฟรีระหว่างอาคารผู้โดยสาร ซึ่งตัวป้ายสถานีและตัวรถล้วนเป็นสีเหลือง จุดขึ้นรถดังต่อไปนี้
・จากอาคารผู้โดยสารหนึ่งไปยังอาคารผู้โดยสารสองและสาม: จุดขึ้นรถหมายเลข 6
・จากอาคารผู้โดยสารสองไปยังอาคารผู้โดยสารหนึ่ง: จุดขึ้นรถหมายเลข 8 และหมายเลข 18
・ จากอาคารผู้โดยสารสองไปยังอาคารผู้โดยสารสาม: จุดขึ้นรถหมายเลข 4 หรือเดินประมาณ 6 นาทีผ่านเส้นทางระหว่างอาคาร
สนามบินนาริตะเป็นประตูด่านแรกสําหรับผู้ที่เดินทางถึงญี่ปุ่น แต่หลายคนมักไม่รู้จุดจำหน่ายซิมการ์ดและตั๋วโดยสารต่างๆ หรือไม่รู้ว่ามีห้องรอรับและบริการรถบัสรับส่งฟรีระหว่างอาคาร ดังนั้นอย่าลืมเซฟบทความนี้ไว้ ให้คุณใช้งานสนามบินนาริตะได้อย่างสะดวกมากขึ้นนะ
☞ อ่านเพิ่มเติม
・【วิธีเดินทางไป-กลับสนามบินนาริตะ】 จะด้วยรถไฟ แท็กซี่ หรือรถบัส บทความนี้บอกละเอียดยิบ!
・คัมภีร์เดินทางจากฮาเนดะเข้าโตเกียว สายเที่ยวด้วยตัวเองไม่ควรพลาด!
・อย่าลืมมองหาสิ่งเหล่านี้เมื่อมาที่สนามบินฮาเนดะล่ะ! 5 เคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะทำให้การมาสนามบินฮาเนดะน่าสนใจยิ่งขึ้น!
ผู้เขียนและถ่ายภาพ: Akane 13/7/2017
ผู้อัปเดต: AMO 2022.8
บรรณาธิการ: NeNe, aoi